25 พฤศจิกายน “วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล”
ทำไมจึงต้องเป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน?
จุดเริ่มต้นของการวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล เกิดขึ้นในคืนวันที่ 25 พฤศจิกายน 1960 เหตุการณ์ที่สร้างความสะเทือนใจให้กับผู้หญิงและคนยุคนั้นอย่างยากที่จะลืมเลือน นั่นคือ กรณีการสังหารสามสาวพี่น้องชาวโดมินิกัน ได้แก่ แพทริเซีย มาเรีย และมิเนอร์วา ซึ่งถูกลอบสังหารอย่างทารุณด้วยเหตุผลของการออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองในยุคเผด็จการดูจิลโล สมัยที่ ราฟาเอล หมูลโล เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธาธารณรัฐโดมินิกัน เหตุการณ์ในวันนั้นนำไปสู่การเรียกร้องให้เกิดการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง องค์การสหประชาชาติ จึงรับรองให้วันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็น “วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล” (International Day for the Elimination of Violence against Women) ได้มีการใช้ ริบบิ้นสีขาว” เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงออกเพื่อรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กสตรี และความรุนแรงในครอบครัวด้วย
ความรุนแรงที่เกิดขึ้นไม่ได้มีผลกระทบกับผู้ถูกกระทำเพียงฝ่ายเดียว แต่ยังส่งผลกระทบไปถึงสภาพจิตใจของครอบครัวและคนรอบข้างด้วย ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเริ่มตั้งคำถามกันอย่างจริงจังว่า เพราะเหตุใด ทั้งที่มีการรณรงค์ยุติความรุนแรงกันมาอย่างยาวนานเช่นนี้ แต่ความรุนแรงยังคงมีอยู่ในสังคมไทยตลอดจนสังคมโลกโดยไม่มีทีท่าว่าจะลดน้อยลง เราจึงไม่ควรเพิกเฉยต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นทุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรุนแรงต่อเด็กและสตรีซึ่งถือเป็นกลุ่มเปราะบาง ซึ่งหากคนในสังคมมุ่งมั่นร่วมกันยุติความรุนแรงอย่างจริงจังต่อเนื่อง รวมทั้งใส่ใจคนรอบตัวสักนิดว่ากำลังเผชิญกับปัญหาความรุนแรงอะไรอยู่หรือไม่ เพื่อค้นพบและร่วมกันแก้ไขปัญหานั้นเสียแต่ต้น เราทุกคนก็สามารถช่วยยุติความรุนแรง ต่อเด็กและสตรีได้ เลย เราในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของสังคมได้มีส่วนร่วมในการยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีอย่างไรบ้างหรือไม่ จะทำอย่างไรให้คนในสังคมตระหนักเสมอว่าความรุนแรงไม่ใช่เรื่องธรรมดาและเป็นเรื่องใกล้ตัว
เราจะมีส่วนช่วยหยุดความรุนแรงได้อย่างไร?
การมีส่วนร่วมยุติความรุนแรงเราสามารถมีส่วนร่วมโดยเริ่มจากรอบตัวเราก่อน เช่น ในชุมชนของเราอาจดูเป็นไปได้ยาก และเกินกำลังทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบในการยุติความรุนแรงในชุมชนของเรา สามารถทำได้ด้วยวิธีเล็กๆ น้อยๆ แต่ทรงพลัง ดังนี้
- การรับฟังและเชื่อว่าเธอเป็นผู้โดนถูกกระทำความรุนแรงมา
- เรียนรู้สัญญาณของการล่วงละเมิด/ความรุนแรง
– สัญญาณที่มองเห็นได้ เช่น รอยฟกช้ำตามร่างกาย
– สัญญาณที่มองไม่เห็น เช่น เด็กหรือสตรีที่ถูกทารุณบ่อยครั้งมักจะแสดงอาการหวาดกลัว ตกใจง่าย วิตกวังกล
- เริ่มคุยกับเธอว่าเธอเจอเรื่องอะไรมาบ้าง
- การทำความเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรงและเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
- การมีส่วนร่วมกับชุมชนของคุณและสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง
- การส่งเสริมให้ผู้คนในสังคมและการสนับสนุนการยุติการกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงทุกรูปแบบ
ทั้งนี้ทางเพจเฟสบุ๊ค ก้าวหน้ากุมภวาปี FM 89.50 MHz เชิญชวนทุกคนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล เรามาร่วมมือกันยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงทั่วโลก เพราะทุกสตรีมีสิทธิ์ที่จะได้รับการปฏิบัติด้วยความเคารพและความเท่าเทียมกัน
ที่มา: สำนักงานอัยการสูงสุด
สำนักงานการต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
ศุนย์สุขภาพจิตที่ 7
inn News